นิ่วในเต่า ปัญหาส่วนใหญ่ที่คนเลี้ยงเต่าซูคาต้ามักจะพบ และเป็นสาเหตุที่ทำให้ เต่าเสียชีวิต หรือหยุดการเจริญเติบโต ยิ่งในเต่าเล็กด้วยแล้ว ปัญหาเรื่องนิ่ว ดูจะเป็นเรื่องใหญ่มากทีเดียว ถ้าเทียบขนาดของนิ่วที่อุดตันกับตัวของเต่าแล้ว นิ่วในเต่าค่อนข้างจะน่ากลัวทีเดียว

นิ่วในเต่า เกิดจากอะไร

นิ่วในเต่า เกิดจากการที่เต่ากินผักที่มีอ๊อกซาเลท แล้วอ๊อกซาเลทไปจับตัวกับแคลเซี่ยมตกผลึกในเลือดแล้วถูกไตกรองออกมาอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งในกรณีนี้เต่าเด็กจึงมีความจำเป็นมาก ที่ต้องจับแช่น้ำอุ่นเพื่อกระตุ้นให้ปัสสาวะทุกๆวัน เนื่องจาก ต่อมพาราไธรอยด์ จะกระตุ้นให้เต่าเด็กเจริญอาหาร เพื่อดึงแคลเซี่ยมไปสร้างกระดอง แต่จะทำงานผิดปกติจากการที่ได้รับ ฟอสฟอรัสหรือในโตรเจนที่มีมากในผัก เช่นจอกแหน ผักใบอ่อนชนิดต่างๆเกือบทุกชนิด รวมถึงกวางตุ้งผักบุ้งที่เราให้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันด้วย ดังนั้นเต่าเด็กจึงมักสะสมนิ่วได้ง่ายจากความผิดปกติของอวัยวะทำให้เกิดนิ่วในเต่า

ผักต้องห้าม

ผักที่ต้องห้ามเมื่อมีนิ่วในเต่า คือใบไม้เลี้ยงคู่ใบแข็ง เช่นใบยอ ใบชะพลู หรือยอดผักเป็นต้น อาหารที่ดีที่สุดคือ หญ้าสดผสมผักชนิดต่างๆ ในสัดส่วนที่มากกว่า หากไม่มีหญ้าให้ใช้ใบหม่อน ใบชบา ผสมกับหญ้าแห้งเล็กน้อย ห้ามให้ผักเพียวๆ ให้หั่นให้ละเอียดผสมกัน ทั้งหมดสามารถลดปัจจัยเสี่ยงเรื่องนิ่วในเต่าได้ หรือเต่าบางตัวมีความสมบรูณ์ทางพันธุกรรมมาก ก็อาจไม่มีปัญหาเรื่องนิ่วในเต่า และอนาคตกระดองก็ไม่ปูดด้วย นี่เป็นสาเหตุของเต่ากลุ่มน้อยที่โตขึ้นมาได้และไม่ตายในตอนเด็ก โตมาและก็สวยได้ เป็นปัจจัยของการเลือกเอามาทำพ่อแม่พันธุ์

การศึกษาแนวคิด หรือองค์ความรู้ใหม่ๆ ในเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่งอาจจะขัดแย้งกับความรู้เดิมๆ ที่เราได้เลี้ยงกันมา น่าจะเป็นการเริ่มต้นใหม่ สู่ความรู้ในเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อเป็นการพัฒนาการเลี้ยงเต่าที่ถูกต้อง และเป็นรากฐานที่สำคัญในอนาคตของวงการ Reptile ในเมืองไทย หากเราช่วยกันคนละไม้คนละมือ ร่วมกันแชร์ประสบการณ์ องค์ความรู้ต่างๆ ก็จะสามารถพัฒนาการเลี้ยงดูเต่า ให้สุขภาพดี และอยู่คู่กับเราไปอีกนานแสนนาน

นิ่วในเต่าเต่าบก กับกระเจี๊ยบเขียว

ส่วนประกอบของนิ่วในเต่าบกโดยประมาณ จะประกอบด้วย

1. แคลเซียม Calcium stones (75%<)ซึ่งมักจะรวมกับอ๊อกซาเลต( oxalate) จะมองเห็นจากฟิมล์ X-ray

– ต่อมพาราธัยรอยด์ทำงานมากไป ความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด Hyperparathyroidism (กระดองนิ่มแบบไม่มีเหตุปัจจัย)
– เต่าที่มีการดูดซึมแคลเซี่ยมมากเกินไปอาจจะเกิดจากได้วิตามินดีมากเกินไป (ผลสียจากวิตามินผงที่ผู้เลี้ยงให้ในสัดส่วนที่ไม่เหมาะสม)
– เต่ามีการขับแคลเซี่ยมและฟอสเฟตมากเกินไป (กินผักที่มีส่วนประกอบของน้ำสูงไฟเบอร์ต่ำ)
– เต่าขับกรดยูริกในปัสสาวะมากไป (ความไม่สมดุลของฟอสฟอรัส ระบบหมักย่อยมีปัญหา ถ่ายเหลว ติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร)
– เต่ามีระดับแมกนีเซี่ยมในเลือดต่ำ (ขาดการกินวัชพืชที่หลากหลาย) โตช้า ระบบประสาททำงานผิดปกติ ซึมไม่เจริญอาหาร

2. Struvite (magnesium ammonium phosphate) Stones (15%>) นิ่วชนิดนี้เห็นได้จาก x-ray เป็นนิ่วในเต่าที่ทำให้กระเพาะปัสสาวะของเต่าอักเสบ ทำให้เต่ามีอาการเบ่งนิ่วจากความเจ็บปวด

3. Uric acid stones (5%+) เกลือยูริก เกิดจากผักที่มีโปรตีนสูง หรืออาหารสำเร็จรูป เช่นผักสดต่างๆ ผักใบอ่อนไฟเบอร์ต่ำ นิ่วชนิดนี้จะวอร์มเป็นสารคอลลอยด์เป็นวุ้นในกระเพาะปัสสาวะจะไม่เห็นในฟิมล์ X-ray เป็นตัวตั้งต้นของการจับตัวของนิ่วในเต่า ชนิดต่างๆ ปัสสาวะจะมีความเป็นกรดสูง (ผลเสียจากการ กินผลไม้บางชนิด ดอกไม้ที่มีสารแอนโทไซยานิน เช่นดอกอัญชัน ฯ เกิดกรดในระบบทางเดินอาหารเกิดแก๊สถ่ายเหลว กรดในเลือดสูง) pH<5.5

4. Cystine stones (2%++) เกิดจากความผิดปกติของเต่าในการดูดซึมสาร (Cystine) ซีสทีนและซีสเทอีน ทั้งสองรูปถือเป็นกรดอะมิโนเดี่ยวในกระบวนการเผาผลาญอาหาร เมื่อซีสทีนถูกเผาผลาญแล้วจะได้ผลลัพธ์เป็นกรดซัลฟูริก ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยากับสารอื่นๆ ช่วยในการขับสารพิษออกจากระบบต่างๆ ของร่างกายของเต่า กระบวนการนี้มักจะไม่สมบรูณ์ จากภาวะของสัตว์เลื้อยคลาน ectothermy, poikilothermy, bradymetabolism จึงทำให้ตัวบวมหรือ มีการสะสมที่ข้อหรืออวัยวะต่างๆ หรือภาวะการขับไนโตรเจนไม่เพียงพอ visceral and articular gout

ฝักกระเจี๊ยบเขียว

ในฝักกระเจี๊ยบนั้นมีสารเมือกพวกเพ็กติน (Pectin) และกัม (Gum) สัตวแพทย์จึงแนะนำให้นำฝักกระเจี๊ยบเขียวให้เต่าที่ป่วยเป็นนิ่วในเต่ากิน เพื่อกระตุ้นการขับถ่าย (GI motility stimulants) ในกรณีที่ระบบทางเดินอาหารไม่อุดตัน เพื่อให้เต่าสบายตัวขึ้นเจริญอาหารขึ้น

ทั้งนี้กระเจี๊ยบเขียว มีฟอสพอรัสอยู่ในปริมาณเล็กน้อย และมีแมกนีเซี่ยมเล็กน้อย โปรตีนในเมล็ดสูง วิตามิน B6 เล็กน้อย จึงสามารถละลายนิ่วในเต่าที่เกิดจากอ๊อกซาเลตได้ แต่ฝักกระเจียบนั้นมีโปรตีนสูงจึงทำให้เลือดของเต่าเป็นกรดและทำให้เกิดนิ่ว จากเกลือยูริกได้ ดังนั้นจะต้องได้รับอาหารที่มีความเป็นด่างสูง เช่นวัชพืชต่างๆ หญ้าสดและแห้ง ในสัดส่วนของความสมดุล ผู้เลี้ยงเต่าบกจึงต้องเปลี่ยนอาหารที่หลากหลาย โดยเน้นที่วัชพืชและหญ้าที่มีสัดส่วนของสารอาหารที่ครบถ้วนและพอเหมาะในตัวของมันเองแล้วอาจจะเสริมด้วย ถั่วพลู (วิตามินB6) กระเจี๊ยบเขียว (ฟอสฟอรัสและแมกนีเซี่ยม)

นิ่วในเต่า

ข้อควรระวังเมื่อเกิดนิ่วในเต่า

เมื่อเกิดนิ่วในเต่าต้องมีความระมัดระวังเป็นอย่างมาก ถ้าให้กินฝักกระเจี๊ยบนั้นมากจนเกินไป ก็จะเกิดผลเสียต่อร่างกายเต่าอย่างถึงที่สุดโดยเฉพาะนิ่วในเต่าเด็ก ควรจะให้เพียงเล็กน้อย หรือในเต่าเด็กตั้งแต่แรกออกไข่จนถึง 1 ขวบ 50 กรัมต่อสัปดาห์ และเพิ่มขึ้นตามอายุ 

โดยส่วนมากเต่าที่ถูกเลี้ยงในเมืองส่วนมากจะให้กินแต่ผักสด ซึ่งมีสารอาหารเกินความจำเป็นอยู่แล้ว แต่เต่าขาดความสมดุลในอาหารที่หลายหลายและวัชพืชเช่น หญ้า ที่ควรจะเป็นอาหารหลัก เต่าเด็กต้องระวังเรื่องอาหารเป็นพิเศษครับนิดเดียวก็ตาย เช่น เป็นนิ่ว หรือให้กินผลไม้ ส่วนเต่าใหญ่แล้วเลี้ยงง่ายความอดทนสูงจะให้กินผลไม้ดอกไม้หรือผักสดล้วนๆ ในบางวันก็ไม่เป็นปัญหาอะไร เต่าเด็กเลี้ยงคนละแบบกับเต่าโตเพราะมีความอ่อนไหวมาก

ปัจจัยของการเกิดนิ่วในเต่า

อีกปัจจัยของการเกิดนิ่วในเต่า คือการขาดน้ำ พูดถึงการขาดน้ำหลายคนอาจจะบอกว่า เต่าทะเลทราย จำเป็นต้องได้น้ำด้วยเหรอ จำเป็นและจำเป็นมากด้วย กระเพาะปัสสาวะของเต่านี่ ถ้าเปรียบกับสิ่งของแล้ว นี่เทียบได้กับกระติกน้ำของเราเลย พอหิวก็กระดกน้ำดื่ม แต่เต่าพอขาดน้ำมันจะมีการดูดน้ำซึมน้ำได้ผ่านทางตูด มันจะดูดซึมน้ำกลับผ่านทางผนังลำไส้ได้ครับ รูตูดเต่านั้น เราเรียกมันว่า ทวารร่วม ซึ่งจะมีรูเปิดของลำไส้ ระบบปัสสาวะ และสืบพันธ์ มาเปิดร่วมกันกัน
ดังนั้นพอร่างกายขาดน้ำ ก็จะมีการนำน้ำจากปัสสาวะกลับเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางทวารร่วมนี่หล่ะ กระเพราะปัสสาะวะเต่ายังเปรียบเหมือนปืนฉีดน้ำด้วย เวลาเต่าตกใจ มันก็ใช้การฉี่ขับไล่ ศัตรู บางครั้งมันฉี่จนหมดตัว ก็อาจจะทำให้ขาดน้ำได้เช่นกัน
การขาดน้ำ ทำให้ปัสสาวะที่มีตะกอนเกิดการรวมกัน และเมื่อไม่ได้ปัสสาวะนานๆ ตะกอนก็จะจับตัวกันเป็นก้อนภายในกระเพาะปัสสาวะ เมื่อไหร่ก็ตาม ที่เริ่มเกิดนิ่วขึ้นมาแม้จะเป็นก้อนเล็กๆ เมื่อนั้นเราต้องรีบย้อนกลับมาหาสาเหตุแล้วว่าเกิดจากอะไร หากโชคดีก็อาจจะขับทิ้งเองได้ หากโชคร้ายนิ่วในเต่าก็จะอยู่ไปเรื่อยๆ ใหญ่ขึ้น และใหญ่ขึ้น โดยที่เจ้าตัวอาจจะไม่รู้ตัวเลย
โปรโตซัว อาจจะหลุดลอดจากทางเดินอาหาร อุจจาระ เข้าไปผ่านทางช่องทวารร่วม ทำให้เกิดการติดเชื้อ หรือ villi ของกระเพาะปัสสาวะไม่ทำงาน พอไม่ทำงาน ตะกอนของ urate crystal ก็อาจจะเกิดสะสมร่วมกับการขาดน้ำ จึงทำให้เกิดการสะสมของก้อนนิ่วได้

การผ่าตัดนิ่วในเต่า การวางยา และการดูแล

การวางยาในเต่านั้น ถือเป็นศิลปะการวางยาเลย เพราะยาสลบมีให้เลือดหลากหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกัน บางอย่างหลับข้ามวัน บางอย่างไม่หลับ หลังจากลองมาหลากหลายสูตรจะ Premed ด้วย Midazolam และ Induction ด้วย Alfaxalone และลดปวดด้วย Butorphanol และต่อด้วย gas สลบ ซึ่งต้องการฤทธิ์ของการวางยาสลบ ด้วยยาฉีดที่สั้นแต่ควบคุมการหลับของยสสลบด้วย gas สลบต่อ
หลักการคือ ยาอะไรที่ปลอดภัยกับตัวสัตว์ที่สุด ผลข้างเคียงน้อยที่สุด แม้จะปลอดภัยขึ้นมาก็จะวางยาด้วยตัวนั้น ถึงแม้มันจะแพงกว่าหลายเท่า แต่ชีวิตมันซื้อคืนไม่ได้และการให้หลับนานๆ นั้นไม่เป็นผลดีกับตัวเต่า หรือสัตว์เลิ้อยคลานแน่นอo

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงได้ที่  first-ware.com
สนับสนุนโดย  ufabet369