บริษัทขนส่ง

บริษัทขนส่ง จำกัด หรือ บขส. เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดของกระทรวงคมนาคมจัดตั้งโดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และดำเนินการในด้านการบริการขนส่งผู้โดยสารโดยรถประจำทางระหว่างกรุงเทพฯไปยังจังหวัดต่างๆ ในบทความนี้จะพูดถึงการเตรียมรถเพิ่มในช่วงวันหยุดยาว เพื่อรองรับจำนวนประชาชนที่คาดว่าจะเดินทางเพิ่มขึ้น 20% ของบริษัทขนส่ง (บขส.)

บริษัทขนส่ง

บขส. เตรียมรถเพิ่ม คาดหยุดยาวประชาชนเดินทางเพิ่ม 20%

รองโฆษกรัฐบาล เผย บริษัทขนส่ง (บขส.) เตรียมรถวันละ 3,500 เที่ยว รวม 68 เส้นทาง รองรับประชาชนเดินทางช่วงวันหยุดยาว 6 วัน คาดจะมีประชาชนเดินทางวันละ 3.5 หมื่นคน

วันที่ 27 ก.ค. 2566 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) เตรียมพร้อมรถโดยสารทั้งเที่ยวปกติและรถเสริมรองรับการเดินทางของประชาชนช่วงวันหยุดยาวตั้งแต่วันที่ 28 ก.ค.-2 ส.ค. 66 รวม 6 วัน คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นจากปกติประมาณ 20% เฉลี่ยวันละ 35,000 คน ใช้รถโดยสารประมาณ 3,500 เที่ยว พร้อมทั้งประสานให้ผู้ประกอบการรถร่วม บริษัทขนส่ง (บขส.) นำรถโดยสารไม่ประจำทาง วิ่งเสริมในเส้นทางต่างๆ ประมาณ 200 คัน

สำหรับมาตรการด้านความปลอดภัยที่บริษัทขนส่ง (บขส.) ได้เตรียมความพร้อมของรถโดยสาร บขส. และรถร่วมฯ ก่อนการเดินทาง อาทิ 1) การตรวจเช็กสภาพของรถโดยสาร 2) ควบคุมความเร็วในการขับขี่ ไม่เกิน 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง 3) จัดพนักงานขับรถ 2 คน ในเส้นทางที่ใช้เวลาเดินทางเกิน 4 ชั่วโมง 4) ผลตรวจแอลกอฮอล์และสารเสพติดพนักงานเป็นศูนย์ 5) มีประกันภัยทุกที่นั่ง ทั้งนี้ ผู้โดยสารสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือจองตั๋วได้ที่บริษัทขนส่ง (บขส.) คอลเซ็นเตอร์ โทร. 1490 ตลอด 24 ชั่วโมง

“ปัจจุบันบริษัทขนส่ง (บขส.) จัดรถโดยสารให้บริการรวม 68 เส้นทาง ประกอบด้วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก 26 เส้นทาง (56 เที่ยววิ่ง) ภาคเหนือ 18 เส้นทาง (60 เที่ยววิ่ง) และภาคใต้ 24 เส้นทาง (43 เที่ยววิ่ง) โดยเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-แม่สอด, กรุงเทพฯ-นครพนม และกรุงเทพฯ-หาดใหญ่ เป็นเส้นทางที่มีผู้โดยสารเดินทางใช้บริการเป็นจำนวนมาก” นางสาวรัชดา กล่าว

การดำเนินธุรกิจของบริษัทขนส่ง จำกัด

บริษัทขนส่ง จำกัด เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดของกระทรวงคมนาคมจัดตั้งโดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และดำเนินการในด้านการบริการขนส่งผู้โดยสารโดยรถประจำทางระหว่างกรุงเทพฯไปยัง จังหวัดต่างๆ ระหว่างจังหวัดและภายในจังหวัดและให้เอกชนเข้ามามีส่วนดำเนินการในรูปของรถ ร่วมเอกชนวิ่งในเส้นที่บริษัทขนส่ง (บขส.)ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่ง จากการที่รัฐบาลได้มอบหมายให้บริษัท ขนส่ง จำกัด ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการจัดระเบียบการเดินรถทั้งของบริษัทเองและรถร่วมให้ เป็นระเบียบ รวมทั้งการให้บริการด้านสถานีขนส่งผู้โดยสารทำให้สามารถแบ่งขอบเขตการดำเนิน งานธุรกิจได้ เป็น 3 ธุรกิจ คือ

  1. การเดินรถบริษัท
  2. รถร่วมเอกชน
  3. สถานีขนส่ง

การเดินรถบริษัท

เส้นทางที่บริษัทขนส่ง (บขส.).วิ่งเองมีเพียงส่วนน้อยในขณะที่เส้นทางที่บริษัทขนส่ง (บขส.) วิ่งร่วมกับรถร่วมมีถึงเกือบ 100 เส้นทางโดยเส้นทางที่บริษัทขนส่ง (บขส.).วิ่งเองนั้น ส่วนใหญ่จะเป็นเส้นทางระยะทางไกลใช้เวลาเดินทางมากตลอดจนวิ่งในเส้นทาง ตามนโยบายของรัฐ ส่วนเส้นทางบริษัทขนส่ง (บขส.) วิ่งร่วมกับรถร่วมนั้น เป็นเส้นทางที่ผู้โดยสารนิยมใช้บริการเป็นจำนวนมาก และบริษัทขนส่ง (บขส.) มีรถโดยสารให้บริการไม่เพียงพอ จึงเปิดโอกาสให้รถร่วมเข้ามาวิ่ง ขณะเดียวกันบริษัทขนส่ง (บขส.) ก็วิ่งในเส้นทางนั้นๆ ด้วยเพื่อให้เป็นแบบอย่างแก่รถร่วม ในการให้บริการและเป็นการรักษาระดับคุณภาพการให้บริการแก่ผู้โดยสาร

สำหรับ เส้นทางที่บริษัทขนส่ง (บขส.) เปิดโอกาสให้รถร่วมเอกชนเดินรถโดยลำพังส่วนใหญ่จะเป็นเส้นทางในรถหมวด 3 และหมวด 4 ซึ่งเป็นเส้นทางระหว่างจังหวัดและภายในจังหวัด การดำเนินงานและการให้บริการของบริษัทขนส่ง (บขส.) เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละท้องถิ่นทำได้ยากบริษัทขนส่ง (บขส.) จึงให้สิทธิเดินรถแก่เอกชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนในท้องถิ่น ดำเนินการแทน ซึ่งจะสามารถทราบและตอบสนองต่อความต้องการของผู้โดยสารได้ดีกว่า นอกจากนั้นบริษัทขนส่ง (บขส.) ยังมีปัญหาเรื่องรถโดยสารไม่เพียงพอ จึงให้รถร่วมเอกชนดำเนินการแทน โดยบริษัทขนส่ง (บขส.) จะทำหน้าที่วางกฎระเบียบและควบคุมดูแลการให้บริการรถร่วมเอกชนอีกต่อหนึ่ง ซึ่งเอกชนที่นำรถเข้ามาวิ่งจะต้องมีการทำสัญญากับบริษัทขนส่ง (บขส.) และเสียค่าธรรมเนียมในการนำรถเข้ามาวิ่งในเส้นทางของบริษัทขนส่ง (บขส.) โดยเสียเป็นค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าธรรมเนียมรายปี และค่าธรรมเนียมรายเที่ยว

รถร่วมเอกชน

ภายหลังจากการดำเนินการรวมรถเอกชนให้เข้ามาอยู่ในการดูแลของบริษัทขนส่ง (บขส.) ในปี 2502 แล้วนั้น บริษัทขนส่ง (บขส.) สามารถจัดระเบียบการเดินรถทั้งของบริษัทเองและรถร่วมให้อยู่ในระเบียบ ที่ดีเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมีการสนับสนุนให้เกิดการรวมตัวระหว่างเจ้าหน้าที่ของรถร่วมรายย่อย ให้อยู่ในรูปของห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพการให้บริษัทของรถบริษัทและรถร่วมให้มีความเจริญ ก้าวหน้ามากขึ้นจนในปัจจุบันมีเอกชนเข้าร่วมเป็นบริษัทรถร่วมประมาณ 7,455 คัน ในการพิจารณาเพิ่มรถ จัดรถเข้าเดินในเส้นทางที่ได้รับอนุญาตของบริษัทขนส่ง (บขส.) นั้น มีหลักปฏิบัติดังนี้

1. การปรับปรุงจำนวนเที่ยว จำนวนรถให้อยู่ในดุลยพินิจของฝ่ายจัดการ และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อทราบและนำเสนอกรมการขนส่งทางบกพิจารณาอนุมัติต่อไป
2. ในการเพิ่มจำนวนรถ ให้จัดรถของบริษัทเพิ่มก่อน หากบริษัทไม่มีนโยบายหรือไม่เพิ่มรถ บริษัทก็พิจารณาให้สิทธิกับเจ้าของรถร่วมโดยในการพิจารณาให้สิทธิเอกชนเข้า มาเดินรถในเส้นทางที่ได้รับอนุญาตของบริษัทขนส่ง (บขส.) นั้น บริษัทขนส่ง (บขส.)มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ซึ่งสรุปได้ดังนี้
2.1) บริษัทขนส่ง (บขส.) จะพิจารณาการให้สิทธิของบริษัทขนส่ง (บขส.) ที่ถูกกระทบจากเส้นทางใหม่โดยตรงเป็นอันดับแรก ถ้าไม่มีรถร่วมรายใดถูกกระทบโดยตรงบริษัทขนส่ง (บขส.) จะพิจารณาว่าจะนำรถบริษัทเข้ามาวิ่งในเส้นทางนี้หรือไม่ ถ้าไม่วิ่งจะให้สิทธิการร่วมเอกชนก็จะพิจารณาในข้อต่อไป
2.2) ให้สิทธิแก่รถร่วมเอกชนที่ถูกผลกระทบโดยอ้อมจากเส้นทางที่เปิด
2.3) พิจารณาให้สิทธิแก่รถโดยสารที่ไม่มีสิทธิวิ่ง แต่นำรถมาวิ่งในเส้นทางประจำ
2.4) เจ้าของรถรวมที่ได้รับการพิจารณาจะต้องไม่มีหนี้สินค้างชำระกับบริษัท และจะต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของบริษัทเกี่ยวกับการจัดการเดินรถ และสัญญารถร่วมด้วยดี

3. สัญญารถร่วมและค่าธรรมเนียม เส้นที่บริษัทขนส่ง (บขส.) ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจากกรมการขนส่งทางบกบริษัทขนส่ง (บขส.) สามารถให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานได้ โดยบริษัทขนส่ง (บขส.) จะทำสัญญาให้เอกชนนำรถโดยสารเข้าวิ่งในเส้นทางที่ได้รับอนุญาต ซึ่งสัญญาที่จัดทำขึ้น จะมีอายุ 1 ปี และสามารถต่ออายุสัญญาได้ทุกปี ตราบใดที่รถร่วมไม่ได้กระทำผิดสัญญา โดยเอกชนที่นำรถเข้ามาร่วมวิ่งกับรถของบริษัทขนส่ง (บขส.) รถ ร่วมเอกชนที่วิ่งในแต่ละเที่ยว บริษัทขนส่ง (บขส.) จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 1 ที่นั่ง ต่อคันต่อเที่ยว ค่าธรรมเนียมรายเที่ยวที่บริษัทขนส่ง (บขส.) เรียกเก็บจากรถร่วมนั้น เนื่องจากบริษัทขนส่ง (บขส.) ต้องมีค่าใช้จ่ายต่างๆ เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการจัดระเบียบการเดินรถ การสร้างสถานี รวมทั้งสิ่งอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ เพื่อให้บริการแก่รถร่วม ทำให้บริษัทขนส่ง (บขส.) ต้องการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายเที่ยวดังกล่าวจากรถร่วม

สถานีขนส่งผู้โดยสาร (Bus Terminal)

เป็นสถานที่ที่รถโดยสารจากหลายๆ สายมาจอดในบริเวณเดียวกันและมีบริการต่างๆ จัดไว้ให้ เช่น ที่พักผู้โดยสาร ห้องสุขา ห้องอาหาร เป็นต้น ไว้สำหรับการบริการผู้โดยสาร มีการเก็บค่าใช้สถานีตามประเภทของรถโดยสารตามข้อกำหนดของกรมการขนส่งทางบก โดยกรมการขนส่งจะทำหน้าที่กำกับดูแลสถานีขนส่งต่างๆ ทั่วประเทศ  ในปัจจุบันบริษัทขนส่ง (บขส.) มีสถานีขนส่งผู้โดยสารที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการจากกรมการขนส่งทางบกจำนวน 7 แห่ง แบ่งเป็น กทม.จำนวน 3 แห่งคือ สถานีขนส่งผู้โดยสารหมอชิต 2, สถานีขนส่งผู้โดยสารเอกมัย, สถานีขนส่งผู้โดยสารสายใต้ ถนนบรมราชชนนี และสถานีในส่วนภูมิภาค 4 แห่งคือ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดสุพรรณบุรี, อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ, อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์และจังหวัดสุราษฏร์ธานี นอกจากการบริการสถานีขนส่งผู้โดยสารจำนวน 7 แห่งแล้ว บริษัทขนส่ง (บขส.) ยังมีที่ทำการสถานีเดินรถในส่วนภูมิภาคอีกจำนวน 113 สถานี

บริษัทขนส่ง

 

ข่าวทั่วไปอื่นๆ ที่น่าสนใจ

 

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวทั่วไปได้ที่ first-ware.com

สนับสนุนโดย  ufabet369