บางแก้ว

วันนี้ เราจะมาทำความจัก กับผู้ที่ทำให้ สุนัขบางแก้วเป็นที่รู้จัก ไปทั่วโลก

เมื่อกลางปีที่ผ่านมา คณะกรรมการ สมาพันธ์สุนัขโลก (FCI) ได้จดทะเบียน รับสุนัขไทย พันธุ์บางแก้ว เป็นสุนัขไทย อันดับที่ 2 รองลงมาจากสายพันธุ์ หลังอาน ซึ่งมีถิ่นกำเนิดจาก บ้านบางแก้ว จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งสายพันธุ์บางแก้วนั้น ได้รับการรับรองแบบชั่วคราว เมื่อปี 2554 แต่ในครั้งนี้ เป็นการบรรจุ สุนัขสายพันธุ์ใหม่ ของโลกแบบถาวร

สุนัขพันธุ์บางแก้ว มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จักกันมาอย่างยาวนาน มีประวัติความเป็นมา และต้นกำเนิดอย่างไรนั้น วารสารสัตวแพทย์ ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการตีพิมพ์ ในนวารสาร โดยมีเนื้อหาระบุว่า โดยข้อมูลส่วนใหญ่ ที่ได้รวบรวมมานั้น ล้วนเป็นเพียงคำบอกเล่า ที่สืบต่อกันมาอย่างช้านาน จากอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยบรรพบุรุษ รุ่นแรกๆ ของสุนัขไทยสายพันธุ์บางแก้ว ได้ถือกำเนิดขึ้น เมื่อประมาณปี 2405 และเป็นลูกผสม ระหว่างสุนัขจิ้งจอกหรือสุนัขป่า และสุนัขบ้านพันธุ์ไทย ซึ่งเลี้ยงโดยเจ้าอาวาสวัดบางแก้ว

บางแก้ว

ทว่าการเลี้ยงสุนัข บางแก้ว ก็เป็นสัตว์เลี้ยง ของชาวบ้าน บ้านบางแก้ว และตำบลใกล้เคียงเป็นต้นมา

กระทั่งมีเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ เข้าไปพัฒนา และคัดเลือกสายพันธุ์ และนำออกแสดงนอก ชุมชนจนสุนัขบางแก้ว เป็นที่รู้จักของโลกภายนอก นายสัตวแพทย์นิสิต ตั้งตระการพงษ์ อดีตปศุสัตว์ จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นที่รู้จักในชุมชน ผู้เพาะเลี้ยงสุนัขบางแก้วว่า เป็น “ผู้จุดประกายหมาบางแก้ว” และเขียนตำราวิชาการเกี่ยวกับ สุนัขสายพันธุ์นี้ หลายสิบเล่ม

เปิดเผยเรื่องราว ของการทำให้สุนัขบางแก้ว เป็นที่รู้จักเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2525 หรือเมื่อ 40 ปีที่แล้ว “ดีใจ ก็บอกเขา (ผู้เพาะเลี้ยง) ทุกคนล่ะ ว่าต่อไปนี้ ไม่ใช่เป็นหมาของพิษณุโลกแล้วนะ มันเป็นหมาของประเทศไทย เป็นหมาของโลกไปแล้ว เราต้องยึดตรงนี้ไว้ว่า พิษณุโลกเป็นเจ้าของถิ่นกำเนิด”

นายสัตวแพทย์นิสิต ในวัย 80 ปี เล่าให้บีบีซีไทยฟังว่า เขาไปรับราชการที่พิษณุโลกเมื่อปี 2514 ตอนนั้น สุนัขพันธุ์บางแก้ว เป็นที่รู้จักแค่ไหนพิษณุโลกเท่านั้น แต่ในพื้นที่รู้กัน ว่าเป็นสุนัขสายพันธุ์ดี ที่มีลักษณะพิเศษคือ “ความดุ” รูปร่างสวยงาม รักเจ้าของ นสพ. นิสิตเล่าว่า ใครที่จะขอลูกสุนัขบางแก้วไปเลี้ยง ต้องแลกด้วย ลูกกระสุนปืน 1 กล่อง

“เมื่อปี 2514 เป็นป่า รถไปลำบาก ต้องไปทางเรือ ไปเอาหมามันก็ยาก ตอนนั้นไม่มีการซื้อขายนะ แลกกันด้วย ปืนลูกซอง 300 บาท ต่อหมาตัวนึง”

นสพ. นิสิต เล่าว่า เมื่อได้เป็นปศุสัตว์จังหวัด จึงอยากอนุรักษ์สายพันธุ์ ของบางแก้วไว้ เขาและเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ จึงเข้าไปสำรวจหมู่บ้าน เวลานั้น หมู่บ้านที่พบสุนัขบางแก้ว โดดเด่นกลับเป็น บ้านชุมแสงสงคราม ตำบลไม่ไกลนักจากบ้านบางแก้ว

มีการนำสุนัข ไปประกวดครั้งแรก ในงานนเรศวรมหาราช และงานกาชาดของจังหวัดพิษณุโลกปี 2523 อีกสองปีถัดมา เมื่อได้รับงบประมาณจากจังหวัด จึงเริ่มต้นการคัดเลือก และพัฒนาสายพันธุ์ รวมทั้งค้นหาพ่อพันธุ์แม่พันธุ์คุณภาพดี ขึ้นทะเบียนจนเป็นต้นกำเนิดอีกจุด ที่สุนัขสายพันธุ์บางแก้ว เป็นที่รู้จัก หลังจากนั้นเป็นต้นมา

นสพ. นิสิต เล่าว่าตอนนั้น เจ้าหน้าที่เดินเท้าสำรวจในหมู่บ้าน เพื่อค้นหาพ่อพันธุ์ 25 ตัว แม่พันธุ์ 70-80 ตัว นำมาจดทะเบียนบันทึก เพื่อคัดเลือกพันธุ์ “ที่ชุมแสงสงคราม เรานัดให้เอาหมามารวมกัน เราเดินดูหมาในหมู่บ้าน เอ้อ ตัวนี้ไม่ควรเลี้ยง จับตอนนะ เอาเฉพาะที่มันเข้าลักษณะ ถือว่าชุมแสงสงคราม หมู่ที่ 2 เป็นกลุ่มที่ช่วยให้หมาบางแก้ว เจริญขึ้นมาได้”

ส่วนความนิยม ในสุนัขพันธุ์บางแก้ว นสพ.นิสิต เล่าว่า เมื่อครั้งนำมาจัดแสดงที่งานกาชาดครั้งแรก “มีคนสนใจเยอะขนาดที่ หาซื้อลูกหมาไม่ได้ จะซื้อแม่พันธุ์หมา แล้วซื้อตัวละ 10,000-20,000 บาท” จุดเปลี่ยนของสุนัขพันธุ์บางแก้วเกิดขึ้น เมื่อ “ความดุ” ขายไม่ได้

ขอบคุณแหล่งที่มา : bbc.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆ ได้ที่ : first-ware.com